https://www.facebook.com/Municipalitybangsaray ฝ่ายปกครอง
ReadyPlanet.com
dot
นายสมหวัง เอี่ยมดี นายกเทศมนตรีตำบลบางเสร่
dot
สแกน QR-Code ประเมินได้ทันที แบบสอบถามบุคคลภายนอก EIT
คลิก ร้องทุกข์/ร้องเรียนได้ทันที OSS ทต.บางเสร่
คลิก เพื่อใช้บริการ  5 ระบบ E - SERVICE Bangsaray
คู่มือ E-Service
รายงานกิจการเทศบาล
ข้อมูลข่าวสารเทศบาล
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
สำนักปลัดเทศบาล
ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
งานรักษาความสงบ
ภาพกิจกรรม
https://dbdregcom.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=27


การจัดการความรู้ รายงานการศึกษา บทความ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ล็อกอิน
ป.ป.ช.
เฟสบุค ทต.บางเสร่


งานทะเบียนราษฏร

 

การแจ้งเกิด 

          การแจ้งการเกิด ต้องแจ้งชื่อเด็กที่เกิดตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อของบุคคลให้

     พร้อมกับการแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เกิด ถ้าแจ้งการเกิดเกินกำหนดระยะเวลา

     ที่กำหนดไว้มีโทษปรับไม่เกิน 1000 บาท


     ผู้มีหน้าที่แจ้งเกิด

     1. เด็กเกิดในบ้าน เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาของเด็กเป็นผู้แจ้ง

     2. เด็กเกิดนอกบ้าน บิดาหรือมารดาของเด็กหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้ง

     3. เด็กเกิดในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่สถานพยาบาล ออกหนังสือรับรองการเกิดให้บิดา

     หรือมารดาเป็นผู้แจ้ง

     4. เด็กอ่อนถูกทอดทิ้ง ผู้พบเห็นเด็กเป็นผู้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อรับตัวเด็กไว้และส่งต่อให้

     ประชาสงเคราะห์เป็นผู้แจ้งการเกิด


     หลักฐาน

     1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่จะเพิ่มชื่อเด็ก

     2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง / ของบิดา / มารดาเด็ก

     3. หนังสือรับรองการเกิดของสถานพยาบาล


     สถานที่ติดต่อ

     1. สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล (กรณีสถานที่เกิดในเขตเทศบาล)

     2. สำนักทะเบียนอำเภอ (กรณีสถานที่เกิดนอกเขตเทศบาล)


การแจ้งตาย

          เมื่อมีคนตายไม่ว่าจะตายในบ้าน ตายนอกบ้าน หรือตายในสถานพยาบาล ตายตามธรรมชาติหรือผิด        ธรรมชาติ จะต้องดำเนินการแจ้งตาย

     ผู้มีหน้าที่แจ้งตาย

     1. คนตายในบ้าน เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้ง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง

     2. คนตายนอกบ้าน บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง

     3. คนตายในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการตายให้ญาติเป็นผู้แจ้ง

     ต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่ตายภายใน 24 ชั่วโมงถ้าเกินกว่าระยะเวลาที่            กำหนด มีโทษปรับระวางไม่เกิน 1000 บาท

     หลักฐาน

     1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่

     2. หนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาล (ถ้ามี)

     3. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย / ผู้แจ้ง

 

การแจ้งย้ายที่อยู่

               เมื่อคนในบ้านย้ายออกไปอยู่บ้านเลขที่อื่น จะต้องแจ้งย้ายออก หรือเมื่อมีคนอื่นย้ายเข้ามาอาศัย      อยู่ในบ้านจะต้องย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้าหรือย้ายออก ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1000      บาท

     ผู้มีหน้าที่แจ้งย้ายที่อยู่

     เจ้าบ้าน หรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบหมาย แต่แจ้งย้ายปลายทางที่ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้ง


     การแจ้งย้ายเข้าหลักฐาน

     1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

     2. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน 

     3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี)

     4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

     5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ทร.6) ตอน.1 และ ตอน.2 (กรณีย้ายเข้า)


     การแจ้งย้ายออกใช้หลักฐาน

     1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

     2. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน

     3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน

     4. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 

     5. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งย้าย (กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง)


     การแจ้งย้ายปลายทาง การแจ้งย้ายปลายทางหมายถึงผู้ที่ย้ายที่อยู่สามารถไปแจ้งย้ายออกหรือเข้า              ณ.สำนักทะเบียนที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม ผู้แจ้งย้ายที่อยู่ต้อง      แจ้งย้ายด้วยตนเองโดยต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งย้าย 20 บาท

 

     การแจ้งย้ายปลายทางใช้หลักฐาน

     1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า

     2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่ พร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าบ้าน

     3. บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งย้าย

 

การแจ้งเกี่ยวกับบ้าน

               บ้านที่ต้องกำหนดเลขที่บ้านได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้า           บ้านครอบครองและหมายความรวมถึงแพหรือเรือ ซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำโดยบ้านหลัง         หนึ่งให้กำหนดเลขที่บ้านเพียงหมายเลขเดียวส่วนบ้านที่ปลูกเป็นตึกแถว ห้องอาคารชุด ให้กำหนดเลขที่       ทุกห้อง

     ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าของบ้านเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้ง

     หลักฐาน

     1. ใบอนุญาติปลูกสร้างอาคาร (ถ้ามี)

     2. สำเนาโฉนดที่ดิน / นส.3ก.

     3. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของบ้าน / ผู้ยื่นคำร้อง

     4. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของบ้าน / ผู้ยื่นคำร้อง

     5. ตรวจสภาพความเป็นบ้าน

     การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร เอกสารการทะเบียนราษฎรที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง      ได้คือ

     1. สำเนาทะเบียนบ้าน

     2. สูติบัตรและทะเบียนคนเกิด

     3. มรณบัตร และทะเบียนคนตาย

     4. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่


     ผู้มีหน้าที่แจ้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร

     1. เจ้าบ้าน

     2. บิดา / มารดา

     3. ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน

     4. ตนเอง


     หลักฐานที่ใช้ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร

     เอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปี 2499, ฉบับปี 2515, หรือฉบับปี 2526            ใบสำคัญ

     ในการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล, ทะเบียนสมรส และทะเบียนหย่า เป็นต้น

     สถานที่ยื่นคำร้องในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร

     1.การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน สูติบัตร มรณบัตร ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ใน            ทะเบียนบ้าน

     2.การแก้ไขรายการในทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตายและใบแจ้งย้ายที่อยู่ ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียน      ที่จัดทำ

     ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย และใบแจ้งย้ายที่อยู่

     การมอบอำนาจของเจ้าบ้าน เจ้าบ้านคือผู้มีหน้าที่ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับบ้านหลังที่ตนเป็นเจ้าบ้านได้แก่        การแจ้ง

     การเกิด แจ้งการตาย แจ้งย้ายที่อยู่หรือเกี่ยวกับบ้านแต่ก็สามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นไปดำเนิน               การแทนได้

     หลักฐานการมอบอำนาจของเจ้าบ้าน

      1. หนังสือมอบอำนาจของเจ้าบ้าน ระบุรายละเอียดชัดเจนว่ามอบให้ใครทำอะไรและลงชื่อผู้มอบ

     2. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน

     3. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน


การทำบัตรประจำตัวประชาชน

     การทำบัตรประจำตัวประชาชนนั้น จะสามารถทำได้เมื่อมีอายุครบ 6 ปี

     1. ทำบัตรครั้งแรกมีหลักเกณฑ์

     ผู้มีสัญชาติไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ ขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบถ้าเกินกำหนด        จะต้องถูกปรับไม่เกิน 500 บาท

     หลักฐานที่ใช้ในการทำบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สูติบัตรหรือทะเบียน              นักเรียน

      2. กรณีบัตรประชาชนเดิมหมดอายุ

      เมื่อบัตรเดิมหมดอายุต้องขอมีบัตรใหม่ ก่อนหรือหลังบัตรที่บัตรจะหมดอายุภายใน 60 วัน ถ้าเกินกำหนด      จะต้องถูกปรับไม่เกิน 200 บาท

     หลักฐานที่ใช้ในการขอมีบัตรใหม่หรือบัตรหมดอายุ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน      เดิมที่หมดอายุ

     3. กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย

     ให้ยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือบัตรนั้นถูกทำลาย หากเกินกำหนดมีโทษปรับ          ไม่เกิน 200 บาท

       หลักฐานที่ใช้ในการขอมีบัตรในกรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐาน          ที่ทางราชการออกให้เช่น สูติบัตร ทะเบียนนักเรียน หรือภาพถ่ายสำเนาบัตรเดิมที่สูญหาย และพยาน            บุคคลในกรณีค้นหาหลักฐานเดิมที่เคยทำบัตรเก่าไม่พบ และเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 20 บาท

     4. กรณีบัตรเดิมชำรุด

     บัตรเดิมชำรุดเช่น ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำเลอะเลือนต้องขอเปลี่ยนบัตรใหม่ภายใน 60 วัน หากเกินจากที่        กำหนดจะมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

      หลักฐานที่ใช้ในการเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรชำรุด ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน , บัตรเดิมที่ชำรุด , หลักฐาน         ที่ทางราชการออกให้และ พยานบุคคลในกรณีที่บัตรชำรุดจนไม่สามารถใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้ และเสียค่า       ธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท

     5.การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล

     หากเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้ทำการแก้ไขในทะเบียนบ้าน      หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

     หลักฐานที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเดิม และใบ        สำคัญในการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล และมีค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท

 

        * หมายเหตุ งานทะเบียนราษฎร มีเจ้าหน้าที่และการให้บริการอยู่ที่ ที่ว่าการอำเภอสัตหีบ 

        โดยเปิดให้บริการเวลา 08.30-16.30 น.