
การประชุมรับฟังความคิดเห็นงานศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์วิศกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาท่าเรือและเสริมทรายชายหาดส่งเสริมการท่องเที่ยว วันที่ 29/03/2024 08:28:24
การประชุมรับฟังความคิดเห็นงานศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์วิศกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาท่าเรือและเสริมทรายชายหาดส่งเสริมการท่องเที่ยว
บริเวณหาดบางเสร่ อำเภอสัตหับ จังหวัดชลบุรี วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ วัดบางเสร่คงคาราม ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหับ จังหวัดชลบุรี ..................................................... วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ วัดบางเสร่คงคาราม ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหับ จังหวัดชลบุรี กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ร่วมกับ บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอส ที เอส กรีน จำกัด และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นงานศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์วิศกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาท่าเรือและเสริมทรายชายหาดส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณหาดบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 3 1. ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน ผู้ประกอบ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อประกอบการศึกษาออกแบบและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมทรายชายหาดส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณหาดบางเสร่ อ.สัตหีบ ชลบุรี ครั้งที่ 3 2. ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม มีผู้ร่วมการการประชุมประกอบไปด้วย นายภควัต ขันธหิรัญ นายอำเภอสัตหีบ พร้อมด้วยผู้บริหารเทศบาลตำบลบางเสร่ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางเสร่ ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ พนักงานเทศบาลตำบลบางเสร่ และประชาชน ผู้ประกอบ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเขตตำบลบางเสร่ 3. ผลจากการมีส่วนร่วม กรมเจ้าท่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ชายหาดบางเสร่ในเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จึงเห็นสมควรที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ชายหาดบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งก่อนการดำเนินโครงการซึ่งมีผลกระทบกับหลายๆ ส่วน จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์วิศกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาท่าเสริมทรายชายหาดส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณหาดบางเสร่ โดยศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งชายหาดบางเสร่ และกำหนดแนวทางวิธีการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และการใช้งานของชายหาด ซึ่งมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้ว 2 ในปี 2565 และ 2566 จากการประชุมฯ ครั้งที่ 3 มีผู้เห็นด้วยกับการเสริมทรายชายหาดส่งเสริมการท่องเที่ยว ร้อยละ 79.3 และมีข้อเสนอเพิ่มเติม ดังนี้ 1. เมื่อดำเนินโครงการแล้วต้องมีการติดตามดูแลต่อเนื่องตลอดระยะเวลา และเมื่อแล้วเสร็จต้องติดตามดูแลประเมินผลต่อเนื่องด้วย 2. เป็นโครงการที่ดี และควรเสริมทรายเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว 3. ควรมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ก่อนการดำเนินการก่อสร้างด้วย 4. ให้มีการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงหลังดำเนินโครงการ ทั้งด้านบวกและด้านลบ จากหน่วยงานท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่นอกเหนือจากการศึกษาของโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลที่รับรู้ร่วมกัน 5. ควรเพิ่มความกว้างของชายหาดจากเดิม 40 เมตร เป็น 100 เมตร 6. การถมทรายอย่าถมทรายจนลึกมาก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อคนเล่นน้ำ ขอให้พิจารณาออกแบบให้ดีและเหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม 7. กำหนดระยะเวลาให้เหมาะสม และดำเนินการให้แล้วเสร็จตรงเวลา 8. ขอให้ออกแบบป้ายและประติมากรรมให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่บางเสร่ 4. การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปรับปรุงพัฒนาการดำเนินการ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ร่วมกับ บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท เอส ที เอส กรีน จำกัด และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นงานศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์วิศกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาท่าเรือและเสริมทรายชายหาดส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณหาดบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 3 ได้นำเสนอโครงการให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ และเมื่อมีผู้เห็นด้วยในการศึกษาเพื่อดำเนินโครงการนี้แล้ว กรมเจ้าท่าจักได้ดำเนินโครงการต่อไป พร้อมกันนี้ได้รับข้อเสนอเพิ่มเติมของประชาชนไปปรับปรุง และเพิ่มเติมในโครงการต่อไปด้วย |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |